บทที่ 3...อุปกรณ์ที่แนะนำคับ
ก่อนอื่นเลยต้องบอกให้เข้าใจกันคร่าวๆก่อนว่า ทำไมเราถึงจะประกอบ Hackintosh ได้ เพราะเรา ทำการหลอก bios ว่าเจ้าอุปกรณ์ที่เราใช้เนี่ยมันคือ แมค ดังนั้น เราต้องหาอะไรที่มันมี (คล้ายกับว่ามี) ในเครื่องแมค จริงๆ
1. Motherboard
เท่าที่ผมหาข้อมูลมาจากหลายๆที่ ผมสรุปสั้นว่า MB (Motherboard) ของ Gigabyte คือ MB ที่ใช้ทำ Hackintosh ได้ ง่าย และ สะดวกที่สุด ด้วยเกือบจะทุกอย่างสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้การเลือกซื้อก็แล้วแต่ความพอใจของแต่ละคนนะครับ เช่น ต้องการช่องใส่แรมที่รองรับ 16 หรือ 32gb ช่อง PCI-E กี่ช่องจะใส่การ์ดจอกี่ตัว มี USB 3.0 ไหมอะไรแบบนี้ ตัวที่ผมใช้ผมเลือกจากราคาระดับกลาง คือ Gigabyte Z68XP-UD3 ด้วยราคาระดับกลางๆ มี USB 3.0 รองรับ การ์ดจอ สองตัว ใส่แรมได้ 32gb ซึ่งก็เพียงพอต่อความต้องการ และสามรถ ในตอนนี้ผมแนะนำรุ่นที่ เป็น ชิปเซท Z68 นะคับเพราะเป็นรุ่นล่าสุด และราคาก็เริ่มลงแล้ว
2. CPU
อันนี้แน่นอนครับ Intel Sandy Bridge ด้วยความสามรถและเป็นอุปกรณ์ ที่มีในแครื่อง แมค ดังนั้น ควรจะเป็น i3 i5 i7 gen 2 นะครับ การ overclock นั้น สามารถทำได้ แต่ข้อมูลที่ผมมี คือยังไม่คงที่ หลายท่านทำสำเร็จหลายท่านล้มเหลว ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยแนำนำว่าไม่ควร overclock ครับ
3. Harddrive
ผมคิดว่า HDD นั้นเท่าที่ผมลอง 2-3 รุ่น Seagate 5400rpm , Western Digital 7200rpm และ SSD ของ Patriot ทุกอันสามรถทำ Hackintosh ได้ไม่มีปัญหา สำหรับท่านที่มีงบผมแนะนำ SSD ความจุ 80-120GB นะครับเพราะว่าท่าลงพวก โปรแกรมที่จำเป็นใน SSD แล้วก็หา HD อีกสักตัวไว้เก็บข้อมูลจะทำให้เครื่องของท่านทำงานได้ลื่นขึ้นอย่างผิดหูผิดตาเลยทีเดียว
4. RAM
หลักของการเลือกซื้อ แรม ต้องดูว่า MB ของท่านรองรับ แรมรุ่นไหนบ้าง ของผมใช้ Ripjaw X 8gb (4*2) ซึ่งทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ละยี่ห้อก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ยี่ห้อที่แนะนำ ก็คงจะเป็น Corsair Vengeance Blue ด้วยปัจจุบันราคาแรม ได้ลดลงอย่างมาก ผมแนะนำ ให้ใส่ 8gb ขึ้นไปนะครับ
5. Video Card
การเลือกซื้อการ์ดจอ เพื่อทำ Hackintosh นั้น ท่านอาจจะต้องทำการบ้านหนักสักหน่อย ด้วย นอกจาก จะมี 2 ค่ายใหญ่ แล้ว ยังมีอีกนับ 10 ยี่ห้อ แถมยังมี มากกว่า 100 รุ่น ดังนั้น นี่คือคำแนะนำคร่าวๆ สำหรับการเลือกซื้อ การ์ดจอ ถ้าท่านไม่ได้ทำงานที่ต้องใช้ Adobe Premiere , Adobe After Effect การ์ดจอของ ATI ก็เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าด้วยราคาที่ไม่แพง และ เป็นอุปกรณ์ที่มีอยู่ในเครื่องแมค ดังนั้นจึงไม่ค่อยพบปํญหา กับ การ์ดจอของ ATI ส่วนท่านที่ใช้สองโปรแกรมข้างต้นนั้นผมแนะนำให้เลือกใช้ การ์ดจอของ nVidia เพราะ การ์ดจอของ nVidia เท่านั้นที่รองรับ Adobe’s CUDA acceleration (รายละเอียดจะกล่าวถึงในบทต่อๆไป นะครับเพราะยาววววเลยทีเดียว) ผมแนะนำให้ซื้อรุ่นที่เป็น fermi สำหรับผม ใช้ nVidia ยี่ห้อ Galaxy รุ่น GTX-460 768mb สำหรับเรื่องรายละเอียดว่ารุ่นไหนมีข้อดีข้อเสียยังไงแนะนำ ให้ดูจาก GPU data list อันนี้ได้ครับ
6. Case + Power Supply
สำหรับเคสนั้นท่านสามรถเลือกได้ตามใจชอบเลยครับ แต่สำหรับ Power Supply ผมแนะนำว่าให้เลือกซื้อ 600w ขึ้นไป สำหรับยี่ห้อ นั้นผมแนะนำให้ดูจาก รีวิว และ ความน่าเชื่อถือของยี่ห้อ เพราะว่า Power Supply ก็เป็นหัวใจหลักของการประกอบคอม เลยทีเดียว เพราะถ้าเจ้า PSU เสีย อาจจะมีผลทำให้อุปกรณ์อื่นๆ ในเครื่องพังได้เลยทีเดียว
7. OS X Lion
ท่านสามารถซื้อแบบที่เป็น USB ได้จากร้านตัวแทนจำหน่ายหรือ apple.co.th ด้วยราคาไม่แพงมาก ผมแนะนำให้ซื้อของแท้นะครับ ผมยังไม่เคยลองกับโปรแกรมก๊อป แต่ในความคิดผมว่าน่าจะทำได้ หรือคนที่มี แมคอยู่แล้วก็สามารถนำมาใช้กับ Hackintosh ของท่านได้เช่นกัน แต่ผมแนะนำ
8. อื่นๆ
ท่านสามารถ ใช้ wifi และ Bluetooth ได้โดยใช้พวกตัวรับสัญญานที่เป็น USB มาใช้ เราสามารถใช้ อุปกรณ์เสริมอของ แมค (คียบอร์ด , Magic Mouse หรือ Magic Trackpad) ได้ผ่าน บลูทูธ นอกจากนี้เรายังสามารถที่จะติดตั้ง Blueray drive ให้กับ Hackintosh ของเราได้อีกด้วย
จะเห็นได้ว่า แม้จะมีข้อจำกัดหลายประการในการประกอบ Hackintosh แต่ด้วยของที่ผมใช้ และ/หรือ แนะนำนั้น มีราคา ไม่ได้แตกต่างจากการประกอบคอม แม้แต่น้อย แถมราคาโดยรวมยังถูกกว่า ครึ่งเมื่อเทียบกับ Mac Pro และราคาก็พอๆกับ iMac หรืออาจจะแพงกว่า Mac mini ไม่เท่าไรแต่ ท่านสามารถเลือก อุปกรณ์บางชิ้นที่ดีกว่า แมค แท้ๆ ด้วยซ้ำ
ผมจะไม่พูดถึงรายละเอียดการประกอบเครื่องนะครับ ในบทต่อไปผมจะพูดถึงขั้นตอนหลังจากประกอบเสร็จ
No comments:
Post a Comment